ลิลิตตะเลงพ่าย
ผู้แต่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงนิพนธ์ร่วมกับ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์
(พระองค์เจ้ากปิษฐาขัตติยกุมาร)
ลักษณะการแต่ง แต่งด้วยลิลิตสุภาพ
ซึ่งประกอบด้วยร่ายสุภาพ โคลงสองสุภาพ โคลงสามสุภาพ และโคลงสี่สุภาพ แต่งสลับกันไป
จำนวน ๔๓๙ บท โดยได้แบบอย่างการแต่งมาจากลิลิตยวนพ่าย
ที่แต่งขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น
ลิลิตเปรียบได้กับงานเขียนมหากาพย์
จัดเป็นวรรณคดีประเภทเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์
จุดมุ่งหมายการแต่งเพื่อสดุดีวีรกรรมของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ในสงครามยุทธหัตถี ตะเลง=มอญ
ที่มาในการนิพนธ์ นิพนธ์ขึ้นเพื่องานพระราชพิธีฉลองตึกวัดพระเชตุพนฯในรัชกาลที่
3
เนื้อเรื่องย่อ เริ่มต้นชมบุญบารมีและพระบรมเดชานุภาพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
แล้วดำเนินความตามประวัติศาสตร์ว่า พระเจ้าหงสาวดีนันทบุรงทรงทราบว่า
สมเด็จพระมหาธรรมราชา เสด็จสวรรคต สมเด็จพระนเรศวรได้ครองราชย์สมบัติ
พระองค์จึงตรัสปรึกษาขุนนางทั้งปวงว่ากรุงศรีอยุธยาผลัดเปลี่ยนกษัตริย์
สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จเอกาทศรถพระพี่น้องทั้งสองอาจรบพุ่งชิงความเป็นใหญ่กัน
ยังไม่รู้เหตุผลประการใด ควรส่งทัพไปเหยียบดินแดนไทย
เป็นการเตือนสงครามไว้ก่อนถ้าเหตุการณ์เมืองไทยไม่ปกติสุขก็ให้โจมตีทันที
ขุนนางทั้งหลายก็เห็นชอบตามพระราชดารีนั้นพระจ้าหงสาวดีจึงตรัสให้
พระมหาอุปราชเตรียมทัพร่วมกับพระมหาราชเจ้านครเชียงใหม่
แต่พระมหาอุปราชกราบทูลพระบิดาว่าโหรทายว่าชันษาของพระองค์ร้ายนัก
สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีตรัสว่าพระมหาธรรมราชาไม่เสียแรงมีโอรสล้วนแต่เชี่ยวชาญกล้าหาญ
ในศึกมิเคยย่อท้อการสงคราม ไม่เคยพักให้พระราชบิดาใช้เลยต้องห้ามเสียอีก และ
หวาดกลัวพระราชอาญาของพระบิดายิ่งนัก จึงเตรียมจัดทัพหลวงและทัพหัวเมืองต่างๆ
เพื่อยกมาตีไทย
ขณะนั้นสมเด็จพระนเรศวรเตรียมทัพจะไป ตีกัมพูชา
เป็นการแก้แค้นที่ถือโอกาสรุกรานไทยหลายครั้งระหว่างที่ไทยติดศึกกับพม่า
พอสมเด็จพระนเรศวรทรงทราบข่าวศึกก็ทรงถอนกำลังไปสู้รบกับพม่าทันที
ทัพหน้ายกล่วงหน้าไปตั้งที่ตำบลหนองสาหร่าย
ฝ่ายพระมาหาอุปราชาทรงคุมทัพมากับพระเจ้าเชียงใหม่รี้พล
5 แสน เข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ ทรงชมไม้ ชมนก ชมเขา
และคร่ำครวญถึงพระสนมกำนัลมาตลอดจนผ่านไทรโยคลำกระเพิน
และเข้ายึดเมืองกาญจนบุรีได้โดยสะดวก
ต่อจากนั้นก็เคลื่อนพลผ่านพนมทวนเกิดลางร้ายลมเวรัมภาพัดฉัตรหัก
ทรงตั้งค่ายหลวงที่ตำบลตระพังตรุ
ฝ่ายสมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถทรงเคลื่อนพยุหยาตราทางชลมารค
ไปขึ้นบกที่ปากโมก
บังเกิดศุภนิมิต
ต่อจากนั้นทรงกรีฑาทัพทางบกไปตั้งค่ายที่ตำบลหนองสาหร่ายเมื่อทรงทราบว่าพม่า
ส่งทหารมาลาดตะเวน
ทรงแน่พระทัยว่าพม่าจะต้องโจมตีประเทศไทยจึงรับสั่งให้ทัพหน้าเข้าปะทะข้าศึกแล้ว
ล่าถอยเพื่อลวงข้าศึกให้ประมาท
แล้วสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับสมเด็จพระเอกาทศรถ
ทรงนำทัพหลวงออกมาช่วย
ช้างพระที่นั่งลองเชือกตกมันกลับเขาไปในหมู่ข้าศึกแม่ทัพนายกองตามไม่ทัน
สมเด็จพระนเรศวรมหาราชตรัสท้าพระมหาอุปราชากรำยุทธหัตถีจนมีชัยชนะ
พระมหาอุปราชาขาดคอช้าง
สมเด็จพระเอกาทศรถกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะแก่มังจาชโร
เมื่อกองทัพพม่าแตกพ่ายไปแล้วสมเด็จพระนเรศวรมาหาราชรับสั่งให้สร้างสถูปเจดีย์เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระมหาอุปราชา
เสด็จแล้วจึงเลิกทัพกลับกรุงศรีอยุธยา เป็นอับดับจบเนื้อเรื่อง
|
|
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น